หน้าแรก > สังคม

ประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ครั้งที่ 1 ภายใต้แนวคิด Thailand Against Cancer as One

วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 เวลา 13:16 น.


มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี จัดการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ครั้งที่ 1 ภายใต้แนวคิด Thailand  Against Cancer as One

กรุงเทพฯ 15 กรกฎาคม 2567 : มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี จัดการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ครั้งที่ 1 ภายใต้แนวคิด “ Thailand Against Cancer as One “ ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพที่สำคัญในด้านการตรวจคัดกรอง และการป้องกันโรคมะเร็งในประเทศไทย โดยความร่วมมือจากหน่วยงานที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายระดับชาติร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการ ได้แก่ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นในเรื่องของมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงานที่ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางวิชาการด้านมะเร็ง อาทิ  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล  คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คณะเทคโนโลยีสุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกระทรวงสาธารณสุข

โดยมีหัวข้อการบรรยายวิชาการด้านมะเร็ง อาทิ มาตรฐานการปฏิบัติในการคัดกรองโรคมะเร็งในปัจจุบัน การคัดกรองโรคมะเร็งด้วยภาพถ่ายทางรังสี  การผ่าตัดเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง  การผ่าตัดเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง AICEDA BreastX: การวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์จากภาพอัลตราซาวด์ การคัดกรองมะเร็งปอดโดยการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยปริมาณรังสีต่ำ การคัดกรองมะเร็งปอดเกิดจาก PM2.5  การสูบบุหรี่และมะเร็งปอด การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประเทศไทย  การกำจัดมะเร็งปากมดลูก: จากมุมมองระดับโลกไปจนถึงการดำเนินการในประเทศไทย มุมมองระดับโลกจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และสมาคมสาธารณสุขสตรีนานาชาติ (FIGO) เพื่อกำจัดมะเร็งปากมดลูกภายในปี 2030 สถานการณ์ของมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย  การป้องกันระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ  การบริหารจัดการด้านสุขภาพสำหรับการกำจัดมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย  การทำให้ถึงเป้าหมายในการกำจัดมะเร็งปากมดลูกภายในปี 2030 ในประเทศไทย และนโยบายและกลยุทธ์ของประเทศไทยในการคัดกรองโรคมะเร็ง การเพิ่มความตระหนักและการปฏิบัติในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง เป็นต้น

ทั้งนี้ นับเป็นการบูรณาการความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาการด้านมะเร็งวิทยาในระดับประเทศและนานาชาติ ทั้งในด้านการป้องกัน คัดกรอง การศึกษาวิจัยเรื่องโรคมะเร็งที่ต่อยอดสู่การพัฒนานวัตกรรม พร้อมนำเทคโนโลยีทางการแพทย์มาประยุกต์ใช้ยกระดับการรักษาโรคมะเร็งในประเทศไทยให้ทัดเทียมนานาประเทศ ตลอดจนร่วมกันส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวทันความรู้ทางการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้า ลดวิกฤตปิดช่องว่างให้คนไทยสามารถเข้าถึงการป้องกันดูแลและรักษาโรคมะเร็งที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียม

ข่าวยอดนิยม


ข่าวยอดนิยม