หน้าแรก > สังคม

สีของดาวตกบอกอะไรกันนะ

วันที่ 5 มีนาคม. 2024 เวลา 12:10 น.


5 มีนาคม 2567 จากเหตุการณ์สุดตื่นเต้น เป็นที่น่าจับตามองและพูดถึงในกระแสโซเชียล อย่างมากกรณีเห็นแสงวาบในหลายพื้นที่ของไทย ช่วงเย็น 4 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมาจนเกิดเป็นกระแสในโซเชียล ซึ่งในอดีตดาวตกในอดีตถือเป็นลางบอกเหตุร้าย ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดและความเชื่อของผู้คน เมื่อกาลเวลาผ่านไปองค์ความรู้ด้านดาราศาสตร์มีการพัฒนาขึ้น ดาวตกจึงไม่ใช่ลางบอกเหตุแต่คือก้อนหินที่เผอิญถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดมาเท่านั้น

ดาวตก คือเศษหิน เศษฝุ่นของดาวหาง หรือชิ้นส่วนของดาวเคราะห์น้อยที่เคลื่อนที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้เกิดการเสียดสีกับชั้นบรรยากาศจนเปล่งแสงออกมาซึ่งสีเหล่านั้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะและโมเลกุลของอากาศ
ดังนั้นเราจึงบอกธาตุที่เป็นองค์ประกอบของดาวตกตามสีที่ปรากฏบนท้องฟ้า ในขณะที่ดาวตกเผาไหม้กับชั้นบรรยากาศ สีที่เรามักพบอยู่บ่อย ๆ ของดาวตกคือ สีเหลือง สีส้ม และสีเขียว  สีของดาวตกบอกอะไรได้บ้าง

โดย NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้เผยถึงที่มาของสีของดาวตก โดยรายละเอียดระบุว่า 
ดาวตก เกิดจากเศษหินและฝุ่นของดาวหาง หรือดาวเคราะห์น้อย พุ่งเข้ามาชนกับชั้นบรรยากาศโลกด้วยความเร็วสูงมาก เกิดการเสียดสีและเผาไหม้ ทำให้อะตอมของดาวตกเปล่งแสงออกมาในช่วงคลื่นต่าง ๆ เราจึงมองเห็นสีของดาวตกปรากฏในลักษณะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสองปัจจัยได้แก่ องค์ประกอบทางเคมี และโมเลกุลของอากาศโดยรอบ ซึ่งชนกับตัวดาวตกอย่างรุนแรงจนเกิดความร้อนสูง

แสงที่เปล่งออกมาจากอะตอมโลหะของดาวตก จะแตกต่างกันไปตามองค์ประกอบทางเคมี เช่น อะตอมแคลเซียม ( Ca ) ให้แสงสีออกโทนม่วง อะตอมแมกนีเซียม ( Mg ) ให้แสงสีฟ้าเขียว อะตอมโซเดียม ( Na ) ให้แสงสีส้มเหลือง อะตอมเหล็ก ( Fe ) ให้แสงสีเหลือง ในขณะที่โมเลกุลในชั้นบรรยากาศโลก จะมีอะตอมของออกซิเจน ( O ) และไนโตรเจน ( N ) เป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะให้แสงสีแดง ดังนั้น สีของดาวตกจึงขึ้นอยู่กับการเปล่งแสงขององค์ประกอบแต่ละชนิด และการเปล่งแสงของอากาศโดยรอบตัวดาวตกที่ร้อนจัด ซึ่งจะให้แสงสีแดงและสีเขียวเป็นหลัก ขึ้นอยู่กับความสูงจากพื้นโลกนั้นเองครับ

ที่มา NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวยอดนิยม